มรดกล้ำค่า จากหนังสือเมล็ดพันธุ์แห่งปรีชาญาณ เล่ม 4
ครั้งหนึ่งมีชายคนหนึ่งสัญญาจะให้เงินแก่ลูกทั้ง 10 คน คนละ 100 เหรียญทองในวันที่เขาตาย ขณะที่เขาให้สัญญากับลูกๆ เขามีเงินมากพอที่จะให้ลูกทุกคนได้ แต่เมื่อถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต เขาเผชิญกับปัญหาด้านการเงินและไม่มีเงินเหลือพอจะให้ลูกๆ ตามที่สัญญาไว้
วันที่ชายคนนี้กำลังจะตาย ลูกๆ มารวมกันใกล้เตียงตาที่พ่อของเขาขอร้อง แต่ละคนเข้าไปกอดพ่อและรับถุงบรรจุ 100 เหรียญทอง เมื่อถึงลูกคนสุดท้อง พ่อของเขาให้ลูกคนอื่นออกไปจากห้อง
“ลูกรัก” พ่อกล่าวกับลูกคนสุดท้อง “พ่อมีข่าวร้ายจะบอกลูก แม้ว่าพ่อจะได้ให้พี่ๆ ของเจ้าไปคนละ 100 เหรียญทอง แต่พ่อมีให้เจ้าเพียงแค่ 20 เหรียญทองเท่านั้น”
“โธ่พ่อ” ลูกคนเล็กคัดค้าน “ถ้าพ่อรู้เช่นนี้ทำไมพ่อไม่แบ่งเงินอย่างยุติธรรมแก่ลูกทุกคน”
“คงจะเป็นการดีกว่าที่พ่อจะรักษาคำพูดของพ่อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้” พ่อกล่าวกับลูกคนเล็ก “แม้ว่าพ่อจะไม่สามารถให้เงินเจ้า 100 เหรียญตามที่พ่อสัญญา แต่พ่อมีขุมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดที่จะให้ลูก นอกเหนือจาก 20 เหรียญทอง ที่พ่อตั้งใจจะให้ลูก พ่อยังมีเพื่อนสนิท 10 คน ที่พ่อจะมอบให้ลูก มิตรภาพของเพื่อนเหล่านี้มีค่ามากกว่าเงินทองมากมายที่พ่อเคยครอบครอง พ่อขอให้ลูกจงปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างดี” หลังจากนั้นไม่นานพ่อก็สิ้นใจ
เมื่อการไว้ทุกข์ผ่านไป ลูกทั้ง 9 คนตื่นเต้นมากกับทรัพย์สมบัติที่พ่อให้ แล้วเดินทางท่องเที่ยว ลูกคนเล็กอยู่กับบ้าน เขาผิดหวังอย่างมากเพราหลังจากชำระหนี้สินแล้วพบว่ามีเงินเหลือเพียง4 เหรียญเท่านั้น แม้เขารู้สึกไม่อยากพบเพื่อนสนินของบิดาเท่าไรนัก แต่เขาคิดว่าเขาควรจะทำตามคำขอสุดท้ายของบิดา ที่สุดเขาตัดสินใจใช้เงินที่เหลือน้อยนิดเชิญเพื่อนๆ ทั้ง 10 ของบิดามารับประทานอาหารเย็น
เมื่อรับประทานอาหารเย็นแล้ว ผู้อาวุโสพูดคุยกัน
“นี่เป็นลูกคนเดียวที่ปฏิบัติต่อเราอย่างมีน้ำใจ ให้เราตอบแทนความรักของเขาเถิด”
รุ่งเช้า เพื่อนของพ่อแต่ละคนให้วัวคนละ 2 ตัว พร้อมถุงเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกคนเล็ก หลายคนช่วยขยายพันธุ์สัตว์ ในไม่ช้าลูกคนเล็กก็มีสัตว์เลี้ยงฝูงใหญ่ เพื่อนของพ่อบางคนให้คำแนะนำในการลงทุน ภายในเวลาไม่นาน ลูกคนเล็กมีเงินมากกว่าพี่ๆ ทั้ง 9 คน บทโต๊ะทำงานของเขา เขียนไว้ว่า
“มิตรภาพมีค่ามากว่าทองคำ”
2020 สิ่งที่ต้องละทิ้งจากชึวิต สิ่งที่ต้องยึดมั่นในชีวิต |
---|
อย่าหันเหจากพระองค์ จงดำเนินชีวิตในพระองค์ อย่างกลัวเลย จงมีความเชื่อไว้เถิด อย่ากังวลถึงวันพรุ่งนี้ จงวางใจในพระองค์ทุกเวลา อย่าทำบาปอีก จงระลึกถึงบทบัญญัติขององค์พระผู้เป็นเจ้า อย่าโต้ตอบคนชั่ว จงดำเนินชีวิตในความรัก อย่าตัดสินเขา จงให้กำลังใจซึ่งกันและกัน อย่าคิดอย่างเด็กๆ จงเป็นผูใหญ่ในความคิด อย่าแสวงหาความชั่ว จงแสวงหาความดี อย่าหวั่นไหวเลย จงมีความรักมั่นคงในพระเจ้า อย่าหลอกลวงตนเอง จงดำเนินชีวิตในความจริงด้วยความรัก อย่าปล่อยตัวเสเพล จงละเว้นความชั่วทุกรูปแบบ อย่าบ่น จงอดทนต่อความทุกข์ยาก อย่าให้ใครเสาะหาผลประโยชน์ส่วนตน จงมีใจกว้างในการให้และพร้อมที่จะแบ่งปัน อย่าพูดคำเลวร้ายใดๆ จงพูดแต่คำดีงามเพื่อช่วยส่งเสริมาผู้อื่น อย่าเกี่ยวข้องกับกิจการแห่งความมืด จงระมัดระวังอย่าปล่อยตัวไปตามความหลงผิด อย่าละเลยพระพรพิเศษที่มีอยู่ในท่าน จงแสวงหาสิ่งที่องค์พระผู้เป็นเจ้าพอพระทัย อย่าให้ผู้ใดดำเนินชีวิตอย่างไร้ประโยชน์ จงใช้เวลาปัจจุบันให้ดีที่สุด อย่าโอ้อวดและอย่ามุสาต่อต้านความจริง จงซื่อสัตย์...และดำเนินชีวิตในความจริง อย่าให้ใครชักนำท่านให้หลงผิด จงพยายามทำตามตัวอย่างที่ดี อย่ารักโลกและสิ่งที่อยู่ในโลกเลย เพราะทรัพย์สมบัติของท่านอยู่ที่ใด ใจของท่านก็จะอยู่ที่นั่นด้วย |
การภาวนาของนักบุญ
(คาร์โล คาร์เร็ตโต) |
9 สิ่งที่จำเป็น สำหรับชีวิตที่เป็นสุข
|
ขจัดผัดวันประกันพรุ่ง |
หลายคนคงจำความรู้สึกนี้ได้ดี ในตอนที่มีอีเมล์ที่ยังไม่ได้อ่านหลายสิบฉบับ หรือมีรายงานการบ้านที่วางกองเป็นตั้งๆ โดยคุณบอกกับตัวเองว่าอีก 30 นาที คุณจะต้องสะสางงานพวกนี้ให้เสร็จ แต่แล้วก็เช่นเคย ล่วงเลยมาไม่เป็นไปตามที่หวังไว้ |
ทำไมคนเราถึงผัดวันประกันพรุ่ง |
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Journal of Research in Personality พบว่า คนที่มักผัดวันประกันพรุ่งจนติดเป็นนิสัยนั้น จะถนัดเรื่องการเลื่อนงานออกไป สุดท้าย นิสัยนี้ก็ติดตัวไปตลอด ซึ่งเป็นนิสัยแก้ยาก เพราะส่งเสริมให้เราผัดผ่อนงานออกไปตลอด ในความเป็นจริงแล้ว เราเกือบทุกคนมีนิสัยผัดงานด้วยกันทั้งนั้น แต่จากการสำรวจของเว็บไซต์ Psychology Today กลับพบว่า ผู้ที่ยอมรับว่าตนเองเป็นคนผัดวันประกันพรุ่งมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นเอง ดังนั้น หากคุณกำลังมีปัญหากับการจัดการชีวิต และการงานให้มีประสิทธิภาพ หรือกำลังขาดแรงจูงใจในชีวิต แสดงว่าคุณอาจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นคนผัดวันประกันพรุ่งจนติดเป็นนิสัยก็ได้ และนี่คือ 2 วิธีที่ต้องทำในการช่วยกำจัด “นิสัยผัดวันประกันพรุ่ง” ของคุรให้หายไปได้
การเริ่มต้นทำงานอาจเป็นสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับคนชอบผลัดวันประกันพรุ่ง แต่ถ้าเราสามารถฝืนตัวเองให้เริ่มทำงานได้ เราก็จะเหมือนถูกสะกดให้ทำงานนั้นต่อไปเรื่อยๆ จนจบ นั้นเพราว่าสมองของเราจะถูกบังคับด้วยสิ่งที่เรียกว่า Zeigarnik effect (เซกานิก เอฟเฟค) ที่จะช่วยให้เราทำสิ่งที่ริเริ่มจนเสร็จสิ้นให้ได้ ดังนั้น วิธีที่จะจัดการกับนิสัยผัดวันประกันพรุ่งได้ก็คือ ‘ททท.’ ที่ย่อมาจาก “ทำ ทัน ที” นั่นเอง
บางงานอาจง่ายก็จริง แต่ปัญหากลับอยู่ที่การเริ่มต้นทำงาน ที่เรามักเลื่อนงานใหญ่ๆ ที่
“ไม่มีปัญหาใหญ่ใดๆทั้งนั้น มีเพียงแต่ปัญหาเล็กๆ จำนวนมาก” |